วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เทพตั้งแต่น้อย

วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เขมรขายไข่ โรงเรียนกระสังพิทยาคม

วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Cakewalk's SONAR 8 Webinar

ชนิดของไฟล์เสียงที่ควรทราบ

                ในการทำดนตรีด้วยคอมพิวเตอร์  สิ่งที่ต้องรู้จักเป็นอันดับแรก คือ ชนิดของไฟล์เสียง ที่ใช้ในคอมพิวเตอร์  ซึ่งจะถูกกล่าวถึงบ่อย ๆ ในเว็บไซต์นี้ด้วยนะครับ โดยเฉพาะที่จะใช้บ่อย ๆ คือ Midi และ Wave   หากว่าคุณยังไม่ทราบ ก็อาจจะงงได้นะครับ  ดังนั้นก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับไฟล์เหล่านี้กันครับ
               MIDI อ่านว่า มีดี้ ย่อมาจาก Musical Instrument Digital Interface เป็นรูปแบบการควบคุมเครื่องดนตรี ที่กลุ่มนักดนตรีในสหรัฐอเมริกา ร่วมกันคิดค้น MIDI มีประโยชน์ในการช่วยให้นักดนตรี สามารถนำเพลงที่เล่นไปแล้วกลับมาเล่นใหม่ และช่วยเพิ่ม special effects อื่นๆ ให้กับเสียงดนตรี ในรูปแบบที่การเล่นจริงอาจทำได้ยากกว่า หรือ ไม่ reproducible ตัวอย่างที่นักศึกษาอาจเคยเห็นก็คือ การเล่นดนตรีในห้องอาหาร โดยทั้งวงมีเพียง 2 คนแต่เล่นเหมือนวงจริง เพราะเขาเล่นดนตรีควบคู่กับการเล่น MIDI เมื่อก่อนนั้นไฟล์ MIDI จะสร้างจาก การเล่นเครื่องดนตรีโดยตรง และเก็บข้อมูลการเล่นทีละ track และเขียนใส่ disk โดยเขาจะใช้ synthesizer ในการควบคุมเครื่องดนตรีต่างๆ เมื่ออ่านคำสั่ง MIDI ขึ้นมาจากแผ่นแล้ว ไฟล์ MIDI เป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็ก เก็บเพียงตัวโน้ต และ ข้อมูลการเปิดปิดเครื่องดนตรีแต่ละตัว เสมือนกับเป็น conductor ประจำวงนั่นเอง ที่นี้พอมี sound card บนคอมพิวเตอร์ขึ้นมา ก็มีการนำสร้าง chip ที่สามารถสังเคราะห์เสียงดนตรีที่เรียกว่า FM Synthesizer หรือ MPU-401 เจ้า chip ที่ว่านี้เมื่ออ่านคำสั่งจากไฟล์ MIDI ก็จะสังเคราะห์เสียงขึ้นมา โดยอาศัย basis set ที่เก็บไว้ว่า เครื่องดนตรี ชนิดไหนมีองค์ประกอบของ sine wave แบบใดบ้าง ไฟล์ประเภท MIDI จึงไม่ได้เก็บ waveform แต่เก็บเพียงตัวโน๊ต และ ชนิดของเครื่องดนตรี ที่จะเล่น การที่เสียงจะออกมาดีหรือไม่ อยู่ที่ synthesizer สำหรับ synthesizer มี 2 ชนิดคือ
                            FM Synthesizer MPU-401 ที่กล่าวมาแล้ว ไม่มีการเก็บ waveform เก็บแต่ parameter ของ sine wave ที่มาประกอบเป็น timbre ของเครื่องดนตรีนั้น
                          Wave Synthesizer เก็บลักษณะของหน้าคลื่นไว้ บางคนเรียก Sound Font แล้วสังเคราะห์เสียงสูง ต่ำ ตาม
                    WAVE (.wav) เป็นไฟล์เสียงที่ได้มาจากการบันทึกเสียง แล้วเก็บไว้ในระบบดิจิตอล ทำให้เราสามารถนำไฟล์เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้งานต่างๆต่อได้อีก ไม่ว่าจะเป็นการปรับแต่งเสียง ผสมเสียง หรือ convert ไปเป็นไฟล์เสียงประเภทอื่นๆได้ (เมื่อทำงานร่วมกับ software) ไฟล์ประเภทนี้มีขนาดใหญ่ เพราะสามารถเก็บความละเอียดไว้ได้มากเท่าที่เราต้องการโดยไม่มีการบีบอัดข้อมูล (นอกจากว่าจะมาปรับแต่งทีหลัง) เป็นไฟล์เสียงประเภทหนึ่งที่มักจะพบในวงการดนตรีมาก (อย่างน้อยที่สุดก็เป็นเสียงของนักร้อง)
                        CD Audio (.cda) เป็นไฟล์เสียงที่บันทึกลงบนแผ่นซีดี ใช้เล่นกับเครื่องเสียงทั่วไป ไฟล์ประเภทนี้มีความคมชัดของสัญญาณมาก เพราะไม่มีการบีบอัดข้อมูล เพียงเข้ารหัสในระบบ Linear PCM เป็นไฟล์ .cda ที่มักจะตั้งค่าการเก็บข้อมูลเสียงโดยการสุ่มและแปลงสัญญาณไว้ที่ 44,100 ครั้งต่อวินาที ปกติคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถอ่านไฟล์นี้ได้โดยตรง ต้องเล่นผ่านอุปกรณ์อื่นๆ เช่น เครื่องเสียง , ซีดีรอม หรือ software บางชนิด
                        MP3 (.mp3) เป็นที่นิยมมากในหมู่นักฟังเพลงทั่วไปในปัจจุบัน เพราะเป็นไฟล์เสียงที่ถูกบีบข้อมูลให้เล็กลงจากสัญญาณเสียงจริงได้ถึง 10 เท่า โดยเราสามารถเลือกความละเอียดของการเข้ารหัสได้ ทำให้คุณภาพเสียงของไฟล์ประเภทนี้ที่บีบอัดข้อมูลไม่มากนัก มีคุณภาพดีใช้ได้เลยทีเดียว (bitrate 128 Kbps) และเนื่องจากความเล็กของไฟล์ประเภทนี้ทำให้เป็นที่นิยมในการส่งไฟล์นี้ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตกันด้วย
                       WMA (.wma) เป็นไฟล์เสียงที่ บ.ไมโครซอฟท์ คิดขึ้นมาให้ทำงานร่วมกับโปรแกรม Windows Media Player ของระบบวินโดว์ สามารถฟังเสียงผ่านระบบ streaming ได้ คือ ดาวน์โหลดข้อมูลไปด้วย พร้อมกับถอดรหัสเสียงให้ฟังไปพร้อมๆกันเลย โดยไม่ต้องรอให้ดาวน์โหลดครบ 100% ส่วนคุณภาพเสียงนั้นมีความละเอียดสูงไม่แพ้ mp3 128 Kbps เลย แต่จะมีขนาดเล็กกว่า mp3 ที่ความละเอียดเสียงพอๆกัน เพราะเข้ารหัสแบบ bitrate 64 Kbps (ครึ่งเดียว) ปัจจุบันเครื่องเสียงบ้านและรถยนต์ได้หันมารองรับไฟล์ระบบนี้มากขึ้นแล้ว
                        Real Audio (.ra) เป็นไฟล์เสียงที่ทำงานคู่กับโปรแกรม Real Player เน้นการทำงานแบบ Streaming สามารถฟังเสียงและดูภาพขณะกำลังดาวน์โหลดข้อมูลได้พร้อมๆกันเลย มีหลายความละเอียดให้เลือกหลายระดับ เป็นที่นิยมในหมู่นักดูหนังฟังเพลงในอินเตอร์เน็ตมาก
                          Audio Streaming Format (.asf) เป็นไฟล์เสียงหนึ่งที่มีรูปแบบ Streaming ที่เน้นส่งข้อมูลเสียงแบบ real time ใช้กันมากในการฟังวิทยุออนไลน์บนอินเตอร์เน็ต
                          Audio Interchange File Format (.aif , .aiff) เป็นไฟล์ลักษณะคล้ายไฟล์ Wave แต่ใช้สำหรับเครื่อง
                          MacintoshACC (.acc) เป็นไฟล์เสียงที่มีคุณภาพสูงมาก สุ่มความถี่ได้ถึง 96 kHz รองรับอัตราการเล่นไฟล์สูงถึง 576 Kbps สามารถแยกเสียงได้ถึงระบบ 5.1ช่อง เทียบเท่า Dolby Digital หรือ AC-3 
                        แหล่งที่มาของข้อมูล http://www.pantown.com/board.php?id=11651&area=4&name=board5&topic=64&action=view

ที่มาของคอมพิวเตอร์ดนตรี

                
        ปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทในเรื่องของเสียง และการบันทึกเสียงอย่างสูง ลองหันไปมองรอบๆ ตัวเรา เทคโนโลยีดิจิตอลออดิโอแทรกซึมไปเกือบทุกที่ เมื่อก่อนฟิล์มภาพยนตร์จะบันทึกเสียงแบบอนาล็อก ลงบนแผ่นฟิล์มไปพร้อมๆ กับหนัง แต่เดี๋ยวนี้แยกเสียงออกมาเก็บแยกแทร็กไว้ต่างหาก โดยการเก็บแบบดิจิตอล ทำให้แม้ฟิล์มจะเสื่อมลงไปบ้างตามจำนวน รอบที่ฉายซึ่งทำให้ภาพเสื่อมคุณภาพลงไป แต่เสียงกลับยังคงมีคุณภาพเท่าเดิม ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ? คำตอบก็คงจะเป็นเช่นเดียวกับที่สิ่งที่เกิดกับ CD และ tape cassette นั่นเอง
                การรักษาสัญญาณให้คงรูปอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเปลี่ยนตัวกลางที่เก็บสัญญาณไปเป็นอย่างไร หรือมีระยะการเดินทางไกลแค่ไหน เป็นความดีของระบบดิจิตอลที่ทำให้มันก้าวเข้ามาแทนที่ระบบอนาล็อก แต่รู้หรือไม่ว่าข้อดีอีกประการของดิจิตอลนั้น กลับทำคุณอย่างมหาศาลให้กลับผู้ใช้อย่างเรา นั้นก็คือการที่เราสามารถทำสัญญาณเสียงให้อยู่ในรูปดิจิตอลได้ ทำให้เราสามารถ สร้างและแก้ไข ดัดแปลงสัญญาณนั้นได้ง่ายโดยการช่วยเหลือจากคอมพิวเตอร์ แล้วผู้ใช้อย่างเราๆ ที่ไม่ใช่ sound engineer มืออาชีพก็มีสิทธิ์จะทำ effect อะไรแปลกๆ ได้เองด้วย    (ใคร)      
     การทำคอมพิวเตอร์ดนตรี จึงเกี่ยวข้องกับระบบดิจิตอลทั้งสิ้น เพราะการทำดนตรีด้วยคอมพิวเตอร์นั้น จำเป็นต้องเปลี่ยนสัญญาณไปเป็นดิจิตอลเสมอ เพื่อใช้ในซอฟแวร์ของคอมพิวเตอร์ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ของคุณเองที่จะสามารถนำเอาประสิทธิภาพของระบบดิจิตอลออกมาใช้สูงสุดได้อย่างไร  เพราะการแปลสัญญาณดิจิตอลย่อมทำให้เกิดการดรอฟ ของเสียงทำให้เสียงของดิจิตอล และ อนาล็อค ต่างกันเล็กน้อย

ไมโครโฟน สิ่งจำเป็นในการอัดเสียง

                   ไมโครโฟน สำหรับอัดเสียง ควรใช้ไมค์โครโฟนชนิด Condenser ซึ่งในปัจจุบัน มีราคาที่ถูกลงอย่างมาก  ถ้าหากสำหรับผู้เริ่มต้นแล้ว  การเลือกใช้ ไมโครโฟน คอนแดนเซอร์ แบบ USB จะเหมาะกว่า  เพราะใช้ง่ายโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริมใด ๆ  ในด้านคุณภาพเสียงก็จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ดี (ถ้าเลือกรุ่นดี ๆ หน่อย) ซึ่งการซื้อไมค์คอนแดนเซอร์ แบบ USB โดยส่วนตัว พบว่าหมดปัญหาเรื่องเสียงรบกวนอย่างมาก เพราะเป็นไมค์ที่แปลงสัญญาณเป็น ดิจิตอลโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องผ่านซาวด์การ์ดด้วย  เหมาะมากสำหรับผู้เริ่มต้น

About Me

ภาพถ่ายของฉัน
อภิชิต กลีบม่วง
ดูโปรไฟล์ทั้งหมดของฉัน